สถิติ
เปิดเมื่อ5/03/2015
อัพเดท7/05/2015
ผู้เข้าชม5729
แสดงหน้า7676
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




บทความ

PSU–Heel Soother แผ่นรองส้นเท้าจากยางธรรมชาติ
เท้า เป็นอีกอวัยวะสำคัญที่ต้องรับศึกหนักในแต่ละวัน ทั้งยืน เดิน หรือวิ่ง ขณะเดินส้นเท้าต้องรับน้ำหนักจากแรงกระแทกเพิ่มมากขึ้น 3 เท่าของน้ำหนักตัว และเป็น 4 เท่าในขณะวิ่ง อันเป็นสาเหตุที่ทำให้นักกีฬา ผู้ที่เดิน ยืน วิ่ง หรือออกกำลังกายบ่อยๆ มักมีอาการปวดเท้าอันเนื่องมาจากเอ็นร้อยหวายและกระดูกส้นเท้าอักเสบอยู่เสมอ และจากการวิจัยพบว่า การใช้อุปกรณ์รองส้นเท้าสามารถช่วยลดอาการปวดส้นเท้าได้        
    ดังนั้นผศ.ดร.วิริยะ ทองเรือง ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จึงได้วิจัยและออกแบบ แผ่นรองส้นเท้ายี่ห้อ PSU-Heel Soother ที่ผลิตจากยางพาราธรรมชาติ เพื่อทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์เสริมส้นเท้าจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นซิลิโคนและมีราคาสูงถึงคู่ละ 600-1,200 บาท           
ผศ.ดร.วิริยะ ทองเรืองผศ.ดร.วิริยะ ทองเรือง     'แนวคิดในการผลิตแผ่นรองส้นเท้า คือ นำเอายางธรรมชาติมาผลิตเป็นแผ่นรองส้นเท้าให้มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อส้นเท้าของคนปกติมากที่สุด โดยทดสอบเปรียบเทียบข้อมูลของเนื้อเยื่อส้นเท้าของคนปกติ และก็พัฒนาสูตรมาให้ได้ใกล้เคียงมากที่สุดกับเนื้อเยื่อส้นเท้า เมื่อส้นเท้าสัมผัสกับผิวของแผ่นรองส้นเท้าจึงไม่รู้สึกระคายเคือง ต่อมาพัฒนาในเรื่องของการออกแบบ เพื่อลดแรงกดเฉพาะจุด ซึ่งเราพบว่าในทางการแพทย์ จุดที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บของส้นเท้าเป็นบริเวณส่วนของอุ้งเท้าด้านใน'                        
5004    แผ่นรองส้นเท้านี้ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะ Double Layer Waffle Pattern ที่มีคุณสมบัติในการช่วยรับกระจายแรงกดและลดแรงกระแทก จึงใช้ได้กับบุคคลทั่วไป ผู้ป่วยเจ็บส้นเท้า นักกีฬา หรือผู้ที่มีน้ำหนักมาก ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายเมื่อสวมใส่ ลดแรงกระแทกเมื่อเคลื่อนไหว เช่น เดิน วิ่งกระโดด ส่วนในผู้ป่วยที่มีส้นเท้าและเท้าอักเสบสามารถลดอาการเจ็บปวดเวลาเดิน และช่วยลดการบาดเจ็บ โดยนำแผ่นรองส้นเท้าใส่เข้าไปในบริเวณส้นของรองเท้าที่เราต้องการสวมใส่ได้เลย ดังนั้น จึงสามารถถอดเปลี่ยนจากรองเท้าคู่หนึ่ง ไปใช้กับอีกคู่ได้สะดวก ผิวสัมผัสออกแบบมาให้ใกล้เคียงกับผิวส้นเท้า          
     ซึ่งนอกจากจะออกแบบแผ่นรองส้นรองเท้าเป็น Double Layer Waffle Pattern แล้ว ยังออกแบบขอบแผ่นรองส้นเท้าด้านหลังให้กระชับขึ้น ง่ายต่อการสวมใส่ สามารถเคลื่อนไหวเท้าได้อย่างอิสระ รวมทั้งป้องกันการลื่นไถล และแรงกระแทกได้ดี จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับ ผู้ที่เล่นกีฬา ไม่ว่าวิ่งหรือเดิน เล่นฟุตบอล ผู้ที่มีอาชีพต้องเดิน หรือยืนนานๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ผ่านการทดลองกับอาสาสมัครในห้องปฏิบัติการแล้ว จนกระทั่งออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แผ่นรองส้นเท้ายี่ห้อ PSU-Heel Soother มีขนาดให้เลือกทั้งหมด 3 ไซซ์ มาตรฐาน คือ S M และ L ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
5005    ซึ่งเมื่อใช้งานแล้วรูปทรงของแผ่นรองส้นเท้าก็ยังคงสภาพเดิมอยู่ ไม่ยุบตัวถาวร หรือที่เรียว่า ยางคงรูป ที่สามารถยืดหยุ่นได้สูงกว่าวัสดุอื่นๆแทบทุกชนิด โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงของโมเลกุล เพื่อให้แผ่นรองส้นเท้าเสียรูปทรงน้อยที่สุด ซึ่งปัจจุบันมี 2 รูปแบบ เป็นแบบที่หุ้มด้วยผ้ากำมะหยี่ สำหรับคนที่ไม่ต้องการจะสัมผัสกับพื้นยางโดยตรง และแบบไม่หุ้มผ้ากำมะหยี่               
   'ข้อดีของยางพาราเมื่อเทียบกับตัวซิลิโคน คือ ยางพาราจะมีคุณสมบัติที่ทนทานและยืดหยุ่น กว่ายางสังเคราะห์เช่นซิลิโคนถึง 2 เท่า เนื่องจากขนาดของโมเลกุลแตกต่างกัน โดยอายุการใช้งานสำหรับยางพารา มีอายุประมาณ 2-3 ปี ขณะที่ซิลิโคน ซึ่งเป็นแผ่นรองส้นเท้าส่วนใหญ่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ  อายุการใช้งานจะน้อยกว่า จะขาดบ่อยและหยุบตัวถาวรมากกว่ายางพารา ซึ่งหากเรานำยางพารามาผลิตเป็นอุปกรณ์รองส้นเท้าได้ ก็จะช่วยลดการใช้ยางสังเคราะห์ไปได้' ผศ.ดร.วิริยะ กล่าวเสริม  

*** แหล่งที่มา : 
http://www.thanonline.com